Popular Posts

Sunday, April 21, 2013

การเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อสุขภาพ


การเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อสุขภาพ
 
นำเรื่องราวกระแสธุรกิจมาแรงมาฝากค่ะ ซึ่งตลาดนี้ในบ้านเรายังมีไม่เยอะเท่าไหร่ น่าสนใจทีเดียวค่ะ คู่แข่งน้อย โอกาสประสบความสำเร็จย่อมมากกว่า ว่ามั้ยคะ

กระแส ความใส่ใจในสุขภาพกำลังเป็นทิศทางใหม่ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและในอนาคต เมื่อพิจารณาจากความเติบโตของตลาดสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาด้านโภชนาการของผู้บริโภคในเอเชีย เช่น โรคอ้วนที่เกิดในกลุ่มเด็กและเยาวชนอันเกิดจากการบริโภคอาหารฟาสต์ฟูดส์ อุปนิสัยในการทานอาหารที่ไม่ใช้สติ รวมทั้งการถูกคุกคามจากโรคภัยใหม่ๆ เช่น โรคซารส์ ไข้หวัดนก จึงเกิดเป็นการ “ปฎิวัติ” รูป แบบการใช้ชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับอาหารการกิน จึงเกิดเป็นโอกาสของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพในภูมิภาคเอเชีย ที่ผู้ประกอบการชาวไทยไม่น่าจะมองข้ามไป
 


ทั้งนี้ประเทศในโลกตะวันตก อย่าง ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นตลาดสำคัญของสินค้าเพื่อสุขภาพของโลกโดยมีเม็ดเงินในตลาดกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเครื่องหมายยืนยันและยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่องโดยสินค้าเกือบ ทั้งหมดส่งตรงมาจากประเทศในเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมทั้งไทย



แต่เป็นเรื่องน่า แปลกใจเมื่อมองกลับมายังตลาดในภูมิภาคเอเชียเอง กลับมีสินค้าวางจำหน่ายเพียงแค่ 4 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในภูมิภาคนี้เปรียบเสมือนเป็น “ผู้ผลิต” รายใหญ่ของโลกแท้ๆ และผู้บริโภคยังมีความต้องการอีกจำนวนมาก

นี่จึงเป็นโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการชาวไทยที่คิดจะเริ่มบุกตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในเอเชียที่ยังเป็นน่านน้ำสีฟ้าครามอยู่

โดยผลิตภัณฑ์อาหารที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบันประกอบไปด้วย Organics Food หรืออาหารที่ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ Functional Food หรือ อาหารเสริมวิตามินโดยวิธีธรรมชาติ และปราศจากไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพ เป็นต้น กล่าวโดยภาพรวมคือเป็นอาหารที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี และบรรจุในแพคเกจจิ้งที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

ทั้ง นี้จากการเปิดเผยของ มาร์ค การ์วูด ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทเดลีย์ฟาร์ม จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพให้กับร้านค้าปลีก 3,165 สาขาทั่วทวีปเอเชีย กล่าวถึงการเติบโตของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพว่า ตลาดโดยรวมโตขึ้นโดยเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ทุกปี ที่สำคัญแนวโน้มธุรกิจไม่ใช่เพียงแค่แฟชั่นที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่กำลังจะเป็นกระแสหลักของการดำเนินชีวิตในยุคหน้าอย่างแน่นอน

มองย้อนกลับไปในปี 2002 มีรายการอาหารเพื่อสุขภาพเพียงแค่ 100 รายการเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีจำนวนรายชื่อสินค้ากว่า 7,000 รายการ

สำหรับ สินค้าจากประเทศไทยที่เดลี่ย์ฟาร์มจัดส่งไปวางจำหน่ายและประสบความสำเร็จ ได้แก่ ตะไคร้ พริกหวาน ข้าว ชาเขียว ที่เป็นอาหารสด ส่วนอาหารสำเร็จรูปได้แก่ อาหารไทยบรรจุกระป๋อง น้ำพริกและน้ำปลา นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่เป็น Personal care เช่นผลิตภัณฑ์สปา ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน และถือเป็นสินค้าที่สร้างชื่อให้กับคนไทยอย่างมาก

โดย ตลาดที่มีความต้องการสูงในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงค์โปร แม้ประเทศเหล่านี้จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ด้วยเช่นกัน แต่ช่องทางที่ผู้ประกอบการชาวไทยจะส่งสินค้าไปตีตลาดก็ยังมีอีกมาก ทั้งนี้จากการสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคพบ ว่าสาเหตุที่หันมาเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ คือ มีความตระหนักในคุณค่าทางอาหารจึงต้องการทานแต่ของสดเท่านั้น ทัศนคติในการนิยมมีบุตรเพียงคนเดียวต่อครัวเรือน จึงมีกำลังซื้อในการสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดแก่คนในครอบครัว และผู้บริโภคมีการศึกษาที่สูงขึ้น จึงแยกแยะได้ว่าสิ่งใดที่ดีหรือไม่ดีต่อร่างกายอย่างไร

ช่อง ทางการจำหน่ายนั้น นอกจากวางขายผ่านโมเดิร์นเทรด ทั่วไปแล้ว ร้านค้าปลีกที่จำหน่ายเฉพาะอาหารสดเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะกำลังเติบโตอย่างรวด เร็วด้วยเช่นกัน และเป็นช่องทางจำหน่ายที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเดินเข้าไปจับจ่ายสินค้ามากที่ สุด เช่น Wellcome, Cold storage, Guardian และ ThreeSixty เป็นต้น

ด้าน กฎระเบียบข้อบังคับที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญคือ การออกใบรับรองสิทธิบัตรที่จะยืนยันความปลอดภัยของอาหารที่จะส่งออก ซึ่งแต่ละประเทศจะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันออกไป โดยผู้ประกอบการสามารถใช้บริการผ่านเอเยนซี่ในการดำเนินเรื่องตรวจสอบ มาตรฐานการผลิตและขอใบรับรองคุณภาพสินค้าได้เช่นกัน โดยหน่วยงานของรัฐบาล เช่นกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกได้ ซึ่ง ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การห้ามใช้สารเคมีใดๆ มาเจือปนทั้งสิ้น การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่เพาะปลูก บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ส่วน ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อผู้ประกอบการคือ การเพาะปลูกบางครั้งจะต้องเจอกับปัญหาภัยธรรมชาติที่ไม่อาจจะคาดการณ์ได้ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นเนื่องจากไม่สามารถใช้สารเคมีในการป้องกันแมลงศัตรู พืชได้จึงต้องป้องกันด้วยวิธีการทางธรรมชาติ เช่น เลี้ยงแมลงที่คอยป้องกันศัตรูพืชไว้ในสถานที่เพาะปลูก รวม ถึงการผลิตที่ไม่อาจจะปลูกในปริมาณมากได้ เพราะจะต้องควบคุมการผลิตในปริมาณที่จำกัด ส่งผลให้สินค้าอาจมีราคาที่สูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะหาซื้อได้

ทั้ง นี้จำนวนผู้ประกอบการที่มุ่งจับตลาดสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพยังมีจำนวนที่ไม่ สูงนัก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะทางในด้านการผลิตเชิงเกษตรกรรม เป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นๆของโลก ที่มี Know how ทางด้านนี้อย่างพร้อมเพรียง โอกาสที่จะเข้าไปจับจองพื้นที่บน “น่านน้ำสีฟ้าคราม” นี้จึงยังเปิดกว้างอีกมาก


หมายเหตุ : ตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพในภูมิภาคเอเชียมีมูลค่ากว่า 29,000 ล้านเหรียญดอลล่าห์สหรัฐ โดยตลาดผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงค์โปร์ ตามลำดับ ทางด้านประเทศผู้ผลิตรายใหญ่คือประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซีย ถูกจัดให้อยู่อันดับที่สามร่วมกัน โดยมีจุดเด่นที่สินค้าประเภทสปา

ที่มา : ผู้จัดการ

No comments:

Post a Comment